ประวัติ วัดวรามาตยภันฑสาราราม(วัดขุนจันทร์)
พระยามหาอำมาตยาธิบดี(ป้อม อมาตยกุล) เป็นบุตรคนที่2ของหลวงพิพิธสมบัติ(เอม)
เป็นบุตรชายคนโต ซึ่งต่อมาได้รับพระราชาทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยามหาอำมาตย์
เกิดเมื่อปีฉลู จ.ศ.1143(พ.ศ.2324) ในปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
เมื่อเจริญวัยได้ทำการสมรสกับ น.ส.เย็น บุตรหลวงอุดมสมบัติ(เจ้สัวเหยี่ยว)และครูเล็ก
ณ บ้านซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกเหนือวัดระฆัง จังหวัดธนบุรี
พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม)ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพขึ้นไป
สมทบกับทัพเจ้าพระยาสุภาวดี ตีทัพเมืองเวียงจันทร์ จนทัพเวียงจันทร์แตก ในปี พ.ศ. 2370
หลังเสร็จศึกสงครามกับเมืองเวียงจันทร์แล้ว จึงได้คิดสร้างวัดขึ้นบนที่ดินสวนในคลองบางหลวง
ประมาณปี พ.ศ.2381 ให้ชื่อว่าวัดขุนจันทร์ หน้าวัดหันลงสู่คลองบางหลวง หลังวัด
เป็นสวนผลไม้ ซึ่งปัจจุบันคือถนนเทอดไทตัดผ่าน
พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม) กับคุณหญิงเย็นมีบุตรด้วยกัน 8 คน เป็นชั้นที่4 คือ
1. หญิงชื่อพุ่ม
2. ชายชื่อพลับ ภายหลังได้เป็นพระยาธรรมสารนิติวิชิตภักดี
3. ชายชื่อสุ่น ภายหลังได้เป็นพระยาอินทราธิบาล
4. ชายชื่อคล้ายถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์
5. ชายชื่อขลิบ ภายหลังได้เป็นพระยาอุทัยมนตรี ผู้ว่าราชการเมืองปราจีนบุรี
6. ชายชื่อโหมด ภายหลังได้เป็นพระยากษาปนกิจโกศล
7.ชายชื่อตาด ภายหลังได้เป็นพระยาธรรมสารนิติพิพิธภักดี
8. หญิงชื่อวรรณ เป็นท้าวภัณณาสารานุรัต ภายหลังได้เป็นท้าวทรงกันดาล ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อพระยามหาอำมาตย์ (ป้อม) ถึงอนิจกรรมด้วยวัย 68ปี (พ.ศ.2391)
ภายหลังอีกประมาณ 35 ปี วัดขุนจันทร์ได้ทรุดโทรมลงมาก
บุตรคนเล็กรับราชการอยู่ในวังหลวงและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
ทรงตั้งเป็นท้าวภัณทสารฯ มีหน้าที่รับใช้ใกล้ชิดพระยุคลบาท
มีความระลึกถึงพระคุณบิดาจึงปฏิสังขรณ์วัดขุนจันทร์ให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
แล้วกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขอพระราชทาน
ชื่อวัดและตั้งใจจะถวายให้เป็นวัดหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่เป็นมงคลโดย
ใช้ชื่อผู้สร้างและผู้ปฏิสังขรณ์รวมกันเป็นนามวัดใหม่ว่า “วัดวรามาตยภัณฑสาราราม”
โดยมีหลักฐานหนังสือพระบรมราชโองการพระราชทานชื่อเมื่อปี พ.ศ.2426
ดังปรากฎอยู่แล้วในหนังสือเล่มนี้ ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดขุนจันทร์”
สืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ คุณท้าวภัณฑสารฯ เดิมมีบรรดาศักดิ์เต็มว่า ท้าวภัณฑสารานุวัตร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 4
หลังจากที่ได้พระราชทานชื่อวัดยังไม่ปรากฎว่าทรงรับวัดขุนจันทร์เป็นวัดหลวง ท้าวภัณฑสารฯ พ.ศ.2430
จึงได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นท้าวทรงกันดาล
มีหน้าที่คุ้มการพระคลังมหาสมบัติฝ่ายใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
ท้าวทรงกันดาล (วรรณ) ถึงแก่กรรม ไม่ปรากฏว่ามีท่านหนึ่งท่านใดในสกุลอมาตยกุล
ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ ต่อมาจวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 7
จึงมีผู้ปฏิสังขรณ์ต่อ จะรวมอัฎฐิและอังคารที่เสร็จจากการพระราชทานเพลิงศพแล้ว
ก็นำมาบรรจุที่อุโบสถวัดขุนจันทร์ตราบเท่าทุกวันนี้ ประมาณ พ.ศ.2477
คุณจิ้มลิ้ม อมาตยกุล (6) บุตรหลวงเสน่ห์รณฤทธิ์ (เอม-5)
ได้ทราบประวัติวัดขุนจันทร์จึงลงเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยาไปดูวัด
เห็นสภาพทรุดโทรมมากจึงนำความขึ้นหารือกับพระเถระผู้ใหญ่ที่คุ้นเคยบางองค์
หนึ่งคือพระภิกษุหลออนุสิทธิ์ฯ ซึ่งครั้งนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดตองปู
(วัดชนะสงคราม บางลำพู กรุงเทพฯ) คุณจิ้มลิ้ม วีระไวทยะ (อมาตยกุล ชั้น 6)
เป็นผู้ริเริ่มในการบูรณะวัดขุนจันทร์ในสมัยรัชกาลที่ 7 “วิหารหลวงพ่อโต” ทรุดโทรมมาก
ตอนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดถูกระเบิดลงบริเวณหน้าวัด มีต้นโพธิ์ใหญ่
แรงระเบิดทำให้กำแพงของวิหารพังทลาย อิฐหักเต็มไปหมด
สมภารเรียกว่า “พระหลวง” วิหารหลวงพ่อโตเป็นหลังคาจากชั่วคราว
หลวงพ่อโตเป็นพระคู่วัดขุนจันทร์มาตั้งแต่แรก ถูกทอดทิ้งไว้กลางแดด กลางฝน ไม่มีหลังคาคลุม
จึงจัดสังกะสีทำเป็นหลังคาคลุมไว้โดย คุณวีระ วีระไวทยะและ
ชาวบ้านคนจีนรวมกำลังศรัทธาบูรณะวิหารประมาณปี พ.ศ.2506
สกุลอมาตยกุลเริ่มทอดกฐินเป็นครั้งแรกได้ประมาณ 1 แสนบาท ปีพ.ศ.2532
มูลนิธิอมาตยกุลและญาติในสกุลอมาตยกุลทอดกฐินได้ประมาณ 1 แสนบาท ปี พ.ศ.2533
คุณบุญวงศ์ อมาตยกุล ประธานมูลนิธิจึงนำความปรึกษาหารือกับคุณวิไล อมาตยกุล (7)
ซึ่งรับราชการฝ่ายในเป็นพระอภิบาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าฯ และพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าฯ
ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโดยเชิญเสด็จเป็นองค์ประธานถวายผ้าพระกฐิน ในวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 2533 รวมระยะเวลา150ปีที่ผ่านมา
ได้มอบที่ดินจำนวนหนึ่งให้สร้างโรงเรียนเทศบาลเป็นอาคาร 2 ชั้น
ปัจจุบันเป็นโรงเรียนประถมศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงชั้นประถมปีที่ 6
น่าเสียดายรายละเอียดของวัดขุนจันทร์ในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 ได้ขาดหายไป
เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้พัฒนาก่อสร้างศาสนวัตถุปรับปรุงซ่อมแซม
ทั้งพระอุโบสถ วิหารลานเจดีย์ ศาลาบำเพ็ญกุศล และอาคารต่างๆ
ที่ชำรุดทรุดโทรมไป โดยอาศัยศรัทธาการบริจาคปัจจัยจากศาสนิกชน
ทั้งชาวไทยและต่างประเทศเพื่อสืบทอดศาสนาต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น